หมอ

เคล็ดลับง่ายๆ ในการลดปัญหาผมร่วง แก้ปัญหาผมร่วง

วิธีแก้ปัญหาผมร่วง

ปัญหาผมร่วง เป็นหนึ่งในปัญหาที่หนักใจของใครหลายคน สามารถพบได้บ่อยทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งลักษณะผมร่วงจะแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล โดยส่วนใหญ่แล้วผมร่วงเยอะมากมักจะส่งผลต่อสภาพจิตใจ และความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน สำหรับใครที่กำลังมองหาวิธีแก้ผมร่วง ในบทความนี้ จะพามารู้จักกับสาเหตุผมร่วง รวมถึงสารพัดวิธีแก้ผมร่วง

ผมร่วงหนักมาก เพราะอะไร

ผมร่วง (Hair Loss) หมายถึง สภาวะอาการที่ร่างกายมีการสูญเสียเส้นขน โดยมักจะเกิดบริเวณหนังศีรษะที่เส้นผมมักจะร่วงผิดไปจากปกติ โดยสังเกตจากที่ต่าง ๆ ตามจุดต่าง ๆ ที่ใช้ชีวิตประจำวัน เช่น หมอนหนุนหัว แปรงหวีผม ท่อระบายน้ำ พื้นห้อง เป็นต้น หากมีจำนวนเส้นผมมากผิดปกติ หรือสัมผัสได้ว่าหนังศีรษะมีเส้นผมบางลง หนังศีรษะเริ่มล้านเป็นหย่อม ๆ แสดงได้ว่าอาจจะประสบปัญหาผมร่วงอยู่ ให้รีบเข้ารับคำปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที เพื่อจะได้หาวิธีแก้ผมร่วงได้อย่างทันท่วงที

มาดูกันว่ามีสาเหตุอะไรบ้าง? เพื่อที่เราจะหาวิธีลดผมร่วงได้อย่างดีที่สุด

  • พันธุกรรม
  • โรคประจำตัว
  • ความเครียด
  • ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง
  • ผลข้างเคียงของยา
  • การลดน้ำหนักในเวลาอันสั้น
  • มีไข้สูง
  • ขาดสารอาหาร เช่น โปรตีน ธาตุเหล็ก เป็นต้น

ปลูกผม-FUE

สาเหตุการเกิดผมร่วงมีอะไรบ้าง?

ผมร่วงเกิดจากอะไร? อาการผมร่วงสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุปัจจัย ปกติแล้วในแต่ละวันคนเราจะมีเส้นผมร่วงวันละประมาณ 40-90 เส้น และจะมีเส้นผมใหม่ขึ้นมาทดแทน แต่ในบางคนที่มีอาการผมร่วงเยอะมากจนสังเกตได้ว่าผิดปกติ รวมถึงมีผมบางขึ้น ก่อนจะไปดูวิธีแก้ผมร่วง เรามาหาสาเหตุของผมร่วงกันก่อน โดยสาเหตุการเกิดผมร่วงมีดังนี้

ปัจจัยภายใน

  • ผมร่วงจากกรรมพันธุ์

ผมร่วงที่เกิดจากพันธุกรรม (Androgenetic Alopecia) สามารถพบได้ในเพศชายและเพศหญิง ซึ่งจะพบมากถึง 80% ในผู้ชาย และ 50% ในเพศหญิง โดยสาเหตุของผมบางแบบพันธุกรรมมาจากการที่ระดับเอนไซม์ชนิดหนึ่งบริเวณหนังศีรษะเพิ่มขึ้น เอนไซม์ชนิดนี้มีหน้าที่เปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ไปเป็นฮอร์โมน DHT (Dihydrotestosterone) ซึ่งฮอร์โมน DHT นี้เป็นฮอร์โมนที่ทำให้เส้นผมบริเวณกลางศีรษะ และขวัญมีขนาดเล็กลง ถ้าหากผู้ที่มีอาการผมร่วง ผมบางจากพันธุกรรมมีระดับเอนไซม์เพิ่มมากขึ้น เส้นผมบริเวณหนังศีรษะก็จะมีขนาดเล็กลง เส้นผมบางและสั้น จึงทำให้เกิดอาการผมหลุดร่วง ผมบางตามมาได้

  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น

เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายของคนเราจะมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะร่างกายจะมีการผลิตฮอร์โมนเพศลดลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสามารถส่งผลกระทบต่อปัญหาผมร่วง ผมบางได้ ตามปกติแล้วเส้นผมจะมีความหนาแน่นและเส้นใหญ่ที่สุดถึงอายุประมาณ 30 ปี หลังจากนั้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ความหนาแน่นและขนาดของเส้นผมจะเริ่มลดลง วงจรชีวิตเส้นผมเริ่มสั้นลง ทำให้ผมร่วงบ่อยขึ้นและผมเริ่มบางลง จนสามารถมองเห็นลักษณะผมบางหรือศีรษะล้านได้ชัดเจน

  • โรคบางชนิดที่อาจทำให้ผมร่วง

โรคบางชนิดส่งผลให้เกิดอาการผมร่วงได้ เช่น โรคผิวหนังเดิมของผู้ป่วย โรคต่อมไทรอยด์ เป็นต้น ที่ทำให้มีการอักเสบรบกวนการเติบโตของเส้นผม รวมถึงการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสของหนังศีรษะ นอกจากนี้ยังมีการเจ็บป่วยทางกายอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเส้นผม ทำให้ผมร่วง ผมบางได้ เช่น การติดเชื้อซิฟิลิส เอชไอวี โรคทางภูมิคุ้มกัน SLE โรคทางผิวหนัง DLE และโรคโลหิตจาง

ปลูกผม-FUE

ปัจจัยภายนอก

  • การรับประทานยาหรือวิตามินอาหารเสริมบางชนิด

ยาบางประเภท เช่น ยารักษาสิวที่มีส่วนผสมของวิตามินบางชนิด ยาลดความดัน ยาคุมกำเนิด ยารักษาโรคมะเร็ง เป็นต้น รวมถึงวิตามินหรืออาหารเสริมบางชนิดที่บริโภคเกินความจำเป็น สามารถทำให้อาการผมร่วง ผมบางได้ หากหยุดยาหรืออาหารเสริมเหล่านี้อาการผมร่วงอาจกลับมาเป็นปกติได้

  • ความเครียดสะสม

ปัญหาความเครียดที่สะสมจะส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ สามารถส่งผลให้เป็นหนึ่งในสาเหตุอาการผมร่วงได้ เพราะเมื่อเกิดความเครียดร่างกายจะผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หรือฮอร์โมนแห่งความเครียดขึ้น ทำให้เส้นผมอ่อนแอลงได้ นอกจากนี้ผู้ที่มีอาการเครียดสะสมบางรายอาจมีพฤติกรรมทำลายเส้นผมตัวเอง เช่น การดึงผมตัวเองโดยไม่รู้ตัว (Trichotillomania) ซึ่งการกระทำนี้สามารถทำให้ผมบางลงได้

  • ขาดสารอาหารหรือแร่ธาตุ

การขาดสารอาหาร หรือผู้ที่กำลังลดน้ำหนักแบบผิดวิธีจะยิ่งเสริมให้เส้นผมเปราะและบางลงได้ ผู้ที่ผมร่วงจากการขาดสารอาหารควรเสริมอาหารจำพวกธาตุเหล็กเพิ่ม เนื่องจากธาตุเหล็กจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม รวมถึงวิตามินต่าง ๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี โปรตีน เป็นต้น สารอาหารเหล่านี้จะช่วยเสริมให้เส้นผมแข็งแรงและช่วยบำรุงหนังศีรษะ นอกจากนี้ผู้ที่ขาดธาตุเหล็กหรือวิตามินอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เล็บเปราะบาง อ่อนเพลีย เป็นต้น

  • การทำคีโมหรือการใช้เคมีบำบัด

เคมีบำบัด หรือการทำคีโมเป็นการใช้ตัวยาเคมีบำบัดเพื่อหยุดการเจริญเติบโตและการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็ง โดยตัวยาเคมีจะเข้าถึงเซลล์มะเร็งผ่านทางกระแสเลือด ทำให้เซลล์รากผม เม็ดเลือด เซลล์เยื่อบุในช่องปาก หรือเซลล์ปกติที่มีการเพิ่มจำนวนแบบรวดเร็วได้รับผลกระทบ ส่งผลให้เกิดอาการผมร่วง ผมบางได้

  • สารเคมี หรือสิ่งสังเคราะห์ที่ใช้กับหนังศีรษะหรือเส้นผม

สารเคมีหรือสารสังเคราะห์ต่าง ๆ จากผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมอย่างเช่น แชมพู ครีมนวด รวมถึงการทำสีผม จัดทรงผม สามารถเป็นปัจจัยช่วยทำให้เส้นผมของเราเปราะบาง ขาดง่าย อีกทั้งยังส่งผลให้หนังศีรษะอักเสบ จนเซลล์รากผมอ่อนแอได้

สัญญาณเตือนว่าควรปลูกผม

ผมร่วงแบบไหน ควรปรึกษาแพทย์

ตามปกติผมคนเราก็ร่วงเป็นธรรมดาอยู่แล้ว แต่ในบางคนอาจจะมีอาการผมร่วงที่ผิดปกติไปจากทั่วไป คุณหมอจึงอยากให้ทุกคนลองสำรวจตัวเองดูว่ามีอาการผิดปกติเหล่านี้รึเปล่า ถ้ามีอาการเหล่านี้ ทำตามวิธีแก้ผมร่วงแล้วไม่ได้ผล คุณหมอบอกเลยว่าควรมาพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาผมร่วงทันทีเลยนะคะ

  • มีอาการผมร่วงมากกว่าวันละ 70 – 100 เส้น ในคนที่สระผมทุกวัน หรือผมร่วงมากกว่าวันละ 200 เส้น ในคนที่สระผมห่างกันวันละ 3 – 4 วัน
  • ในกรณีที่ผมร่วงขณะสระผม หรือเป่าผมเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าหากระหว่างวันมีผมร่วงมากถึงวันละ 70 – 100 เส้น ถือว่าผิดปกติ
  • มีอาการผมร่วงเป็นหย่อม ๆ ผมบาง ศีรษะล้าน

 

วันนี้ เมด้าคลินิก เชียงใหม่ มีวิธี เคล็ดลับที่ไม่ลับ ในการลดปัญหาผมขาดหลุดร่วง ที่ช่วยได้จริง…

 

ควรได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

อย่างแรกที่สำคัญคือการวินิจฉัยที่ถูกต้อง เนื่องจากปัญหาผมร่วงนั้น มีความเป็นไปได้จากหลายสาเหตุ การเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทาง หรือแพทย์ที่มีความรู้ทางด้านผมโดยตรง จะทำให้การรักษา หรือ ทราบแนวทางการปฏิบัติตน เรียกได้ว่าแก้ปัญหาที่ตรงจุดนั้นเอง

เลือกใช้หวีให้เหมาะสม

สำหรับผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ควรใช้หวีที่เหมาะสม โดยควรจะต้องมีระยะห่างของซี่ ที่เหมาะสม ควรใช้หวีที่กว้างเพื่อคลี่คลายเส้นผม เพื่อลดการแตกหักและผมร่วงจากการดึง โดยหลังจากผมหยุดร่วงแล้ว สามารถกลับมาใช้หวีปกติได้ นอกจากนั้นที่สำคัญคือ ไม่ควรหวีผม ในขณะที่ผมเปียกชื้น เนื่องจากเส้นผมของคุณจะอ่อนแอที่สุดเมื่อเปียก ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการขาดของเส้นผม ควรทำความสะอาดหวีและแปรงทุกสัปดาห์ โดยใช้แชมพูในขณะอาบน้ำได้ การทำความสะอาดหวีอย่างสม่ำเสมอมีความจำเป็นอย่างมากในการควบคุมการร่วงของเส้นผม

 

ใช้ผ้าขนหนูเช็ดผมอย่างระมัดระวัง

การใช้ผ้าขนหนูเช็ดผม หลังสระผมเสร็จ อาจเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด ควรหลีกเลี่ยงการไดรเป่าผมด้วยความร้อน เนื่องจากเป็นสิ่งเลวร้ายที่สามารถทำลายเส้นผมโดยตรง ควรใช้ผ้าขนหนูค่อยๆ ซับน้ำออกจากผมหลังจากสระเสร็จ แล้วปล่อยให้แห้งตามธรรมชาติ

 

สระผมสัปดาห์ละ 3 ครั้ง

ควรหมั่นสระผมอย่างน้อยทุก 3 วันครั้ง ด้วยแชมพูทำความสะอาด คราบสกปรกน้ำมันและแบคทีเรียสะสม การทำความสะอาดเส้นผม จะสามารถช่วยให้ลดปัญหาอาการผมร่วง เนื่องจากรูขุมขนอุดตัน แต่ ไม่ควรสระผมมากเกินกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เนื่องจากการสระผมจะขจัดหนังศีรษะและน้ำมันธรรมชาติที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเส้นผมให้หายไป

 

การโยคะ และ การออกำลังกายช่วยลดปัญหาหลุดร่วงของเส้นผมได้

คุณอาจจะประหลาดใจที่โยคะสามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้ เนื่องจากความเครียด เป็นตัวการบั่นทอนในการทำให้เส้นผมของคุณหลุดร่วง การเล่นโยคะ จะช่วยให้มีสมาธิ ลดความวิตกกังวล และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็ช่วยได้เช่นกัน

รับประทานอาหารให้ถูกต้อง

เมื่อกล่าวถึงสุขภาพผมที่ดี คุณควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยสังกะสี เหล็ก วิตามินบี วิตามินเอ กรดไขมันโอเมก้า 3 และโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุเหล่านี้จะส่งผลให้สุขภาพเส้นผมของคุณชุ่มชื่นและหล่อเลี้ยง ทำให้เส้นผมร่วงน้อยลงได้

 

 

หมอหมอ

สนใจรับคำปรึกษา หรือติดต่อสอบถาม
โทร. 053-230257 , 062-3103798

เปิดทำการ จ-ศ 10.00 – 19.30 น.  ส-อา 10.30 – 19.30 น.
FACEBOOK : MedaClinic  LINE ID: @medaclinic  IG : meda.clinic

บทความเพิ่มเติม

เมด้าคลินิกมี 4 สาขา ใกล้บ้านท่าน

📍สาขาเชียงใหม่ แยกดอนจั่น 574 ถนน เชียงใหม่-ลำปาง ต.ท่าศาลา อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ Tel.053-230257 ,062-3103797, 062-3103798
 
📍สาขามีโชคพลาซ่า 206/17 ต.ฟ้าฮ่าม อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 
Tel. 053-230258 ,062-3103799, 062-3103800
 
📍สาขากรุงเทพ รังสิต
 

📍สาขาพัทยา 194/5และ194/6 หมู่9 ต.หนองปรือ อ.บางละมุง , Chon Buri, Thailand, Chon Buri

 

เวลาทำการ
จันทร์ – ศุกร์   10.00 – 19.30 น.
เสาร์ – อาทิตย์ 10.30 – 19.30 น.